Home > แล็ปท็อป > ประวัติความเป็นมาของคอมพิวเตอร์

ประวัติความเป็นมาของคอมพิวเตอร์

เทคโนโลยีและวิวัฒนาการทางคอมพิวเตอร์จากอดีตจนถึงปัจจุบันนั้นมีการพัฒนาขึ้นมาอย่างมากมาย สามารถแบ่งออกได้ 5 ยุคดังนี้

ยุคที่หนึ่ง (1951 –1958) ยุคของหลอดสุญญากาศ

เครื่องคอมพิวเตอร์เครื่องแรกของโลกมีชื่อว่าอินิแอค ( Electronic Numerical Integrator And Calculator : ENIAC)เป็นเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ใช้หลอดสุญญากาศจำนวนมาก ยุคนี้คอมพิวเตอร์มีขนาดใหญ่ใช้กำลังไฟฟ้าสูงทำให้เครื่องมีความร้อนสูงและมีปัญหาไส้หลอดขาดบ่อย

ยุคที่สอง (1959 –1964) ยุคของทรานซิสเตอร์

ใช้ทรานซิสเตอร์ในการผลิตคอมพิวเตอร์แทนหลอดสุญญากาศทำให้ตัวคอมพิวเตอร์มีขนาดเล็กลงกว่าเดิมมาก ไม่เปลืองกระแสไฟฟ้า ไม่ต้องใช้เวลาอุ่นเครื่องเมื่อแรกเปิดเครื่อง ทำให้เครื่องคอมพิวเตอร์มีประสิทธิภาพและความเร็วเพิ่มขึ้น

ยุคที่สาม (1965 –1971) ยุคของแผงวงจรรวม

มีการประดิษฐ์คิดค้นเกี่ยวกับวงจรรวม  (Integrated-Circuit : IC) “ไอซี” ซึ่งทำให้ส่วนประกอบและวงจรต่างๆ สามารถวางลงได้บนแผ่นชิป (chip) เล็กๆ เพียงแผ่นเดียว จึงมีการนำเอาแผ่นชิปมาใช้แทนทรานซิสเตอร์ทำให้ประหยัดเนื้อที่ได้มากทำให้เครื่องคอมพิวเตอร์มีขนาดเล็กลงกว่าเดิม

ยุคที่สี่ (1971 –1980) ยุคของแผงวงจรขนาดใหญ่

จากวงจรไอซีได้มีการพัฒนาย่อส่วนไอซีธรรมดาหลายๆ วงจรเข้ามาในวงจรเดียวกัน วงจรรวมความจุสูงมากหรือวีแอลเอสไอ (Very Large Scale Integrated Circuit : VLSI) จากการประดิษฐ์วีแอลเอสไอสามารถนำมาสร้างเป็นไมโครโพรเซสเซอร์ ซึ่งทำหน้าที่เป็นหน่วยประมวลผลกลางหรือซีพียู (Central Processing Unit : CPU) ของคอมพิวเตอร์ และสามารถลดขนาดของคอมพิวเตอร์ให้เล็กลงจนสามารถตั้งบนโต๊ะทำงานในสำนักงาน หรือพกพาไปในที่ต่างๆ เหมือนกระเป๋าหิ้วได้ เรียกเครื่องคอมพิวเตอร์ที่เกิดในยุคนี้ว่าไมโครคอมพิวเตอร์(microcomputer)

IBM PC (XT และAT), UNIVAC 9700

ยุคที่ห้า (1980 –ปัจจุบัน) ยุคปัจจุบัน

เป็นคอมพิวเตอร์ที่มนุษย์ส่วนใหญ่นำมาเพื่อช่วยในการตัดสินใจและแก้ปัญหาในการทำงานเกือบทุกที่ในปัจจุบัน โดยจะมีการเก็บข้อมูล เข้าไว้ในเครื่อง สามารถเรียกค้นและดึงข้อมูลที่สะสมไว้มาใช้งานให้เป็นประโยชน์ มีการนำเครือข่ายขององค์การเชื่อมต่อเข้าสู่เครือข่ายสากลที่ต่อเชื่อมกันทั่วโลก เรียกว่า อินเตอร์เน็ต (internet) คอมพิวเตอร์ยุคนี้เป็นผลจากวิชาการด้านปัญญาประดิษฐ์ (Artificial Intelligence : AI)

Leave a Comment